Eye Control AF มองที่ไหนโฟกัสที่นั่น ดีอย่างไร?


Eye Control AF ดีอย่างไร?

การหาโฟกัสในกล้องที่ออกใหม่มีการแข่งขันกันมากเพื่อโฟกัสได้เร็วและแม่นยำ แต่เทคโนโลยีการโฟกัสที่ฮือฮาและก้าวหน้ามาก ๆ ในสมัยกล้องฟิล์มคือเทคโนโลยีการโฟกัสด้วยดวงตา (eye-control focus) โดยเมื่อมองไป ณ จุดโฟกัสในช่องมองภาพและกล้องจะจับโฟกัส ณ ตำแหน่งนั้นให้ทันที ซึ่งเริ่มใช้ในกล้อง Canon EOS5 ในปี ค.ศ.1992 และ ในกล้อง EOS3 ในหลายปีต่อมา

Eye Control
จุดโฟกัสในกล้อง Canon EOS3

หลักการทำงานของโฟกัสด้วยตาคือ

หลักการทำงานของการโฟกัสด้วยดวงตาก็คือจะต้องคาริเบรต (calibrate) ดวงตาของผู้ถ่ายก่อน โดยต้องมองตามจุดที่กระพริบในช่องมองภาพ กล้องจะยิงรังสีอินฟราเรดความเข้มต่ำและจับแสงสะท้อนและจดจำลักษณะเฉพาะของตาคนนั้น เมื่อใช้งานจริงกล้องจึงรู้ว่าผู้ถ่ายภาพมองไป ณ ตำแหน่งใด ซึ่งผู้เขียนเองก็ใช้กล้อง EOS5 อยู่หลายปีและพึงพอใจกับระบบโฟกัสด้วยตาดี แม้มีการหน่วงเวลาแต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หลายคนไม่ชอบระบบนี้เพราะยังไม่แม่นยำมากนัก

Eye Control AF
การคาริเบรตการโฟกัสด้วยตาของกล้อง Canon EOS5 (https://support.usa.canon.com/kb/index?page=content&id=ART101650

สิ่งที่น่าสนใจ

สิ่งที่น่าสนใจคือ Canon ได้ปัดฝุ่นแนวคิดการโฟกัสด้วยตามาใช้ใหม่โดยจดสิทธิบัตรการโฟกัสด้วยตาในชุดช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (electronic view finder, EVF) ซึ่งนำมาใช้ในกล้อง EOS R3 หลักการทำงานก็ไม่ต่างไปจากเดิมคือยิงรังสีอินฟราเรดจากแหล่งแสงรอบๆ รูม่านตา (eye pupil) และมีเซนเซอร์คอยรับรังสีที่สะท้อน เพื่อคำนวณว่าผู้ถ่ายภาพมองไป ณ ตำแหน่งใด แน่นอนว่าจะต้องมีการคาริเบรตตาของผู้ถ่ายภาพก่อน

Eye Control AF Fotofile
ลักษณะการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆของกล้องไร้กระจกที่มีระบบโฟกัสด้วยดวงตา

สิ่งที่ท้าทาย

สิ่งที่ท้าทายคือระบบโฟกัสในกล้องปัจจุบันทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมอยู่แล้วทั้งรวดเร็วและแม่นยำ อีกทั้งมีระบบ touch focus ซึ่งแค่แตะหน้าจอ LCD กล้องก็จะจับโฟกัส ณ ตำแหน่งนั้น และยังมีระบบจับโฟกัสใบหน้า (face detection) จับโฟกัสไปที่ดวงตา (eye AF)

Eye Control fotofile
ภาพเฉพาะส่วนระบบ EVF ที่โฟกัสด้วยดวงตา แสดงถึงการยิงอินฟราเรด (เส้นสีดำ) ไปยังดวงตาและสะท้อนไปยังเซนซอร์ (53)

แต่ผู้เขียนยังเชื่อว่าระบบโฟกัสด้วยดวงตานี้จะช่วยให้การโฟกัสสะดวกรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมอีก ยกตัวอย่างเช่นการถ่ายภาพแบบจับโฟกัสที่ใบหน้า กล้องจะเลือกเอาเองว่าต้องโฟกัสที่ใบหน้าไหน หากมีใบหน้าให้จับได้มากกว่าหนึ่ง แต่หากใช้ระบบโฟกัสด้วยดวงตาแล้วจะตัดปัญหาว่ากล้องจับโฟกัสที่ใบหน้าผิดไหนไปทันที เมื่อผู้ถ่ายภาพมองไปที่ใบหน้าไหนก็โฟกัสที่ใบหน้านั้น ดังนั้นตอนนี้ก็เหลือเพียงรอให้มีการทดสอบ

Eye-Control
เมื่อดวงตามองไป ณ จุดต่างๆบนจอภาพ เซนเซอร์จะจับแสงสะท้อนอินฟราเรดจากดวงตา ซึ่งทำให้คำนวณได้ว่ามองไปในทิศทางใด
eye-control af

อ่าน patent เรื่อง eye-control focus ของแคนนอน (https://www.j-platpat.inpit.go.jp/p0200)

ขั้นตอนการคาริเบรตดวงตาของ Canon EOS3

(https://support.usa.canon.com/kb/index?page=content&id=ART117924&actp=search&viewlocale=en_US&searchid=1625392000172)

ดูคลิปความเห็นเกี่ยวกับ eye-control AF

https://www.dpreview.com/videos/3008868868/dpreview-tv-the-return-of-canon-s-eye-controlled-focus

ประสิทธิภาพของการโฟกัสด้วยดวงตาเท่านั้นว่าสามารถตอบสนองการทำงานในการใช้งานจริงได้ดีแค่ไหน

Cr : ดร.ติ่ง
สั่งซื้อสินค้าและตรวจสอบสินค้าได้ที่ fotofile ติดตามข่าวสาร ความรู้ และรีวิวอื่นๆได้ที่ fotofile/blog fotofile youtube Channel learning Center.

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.